แท็ก: เชิญมาวิจารณ์
วรรณกรรมการเมืองรางวัล ‘พานแว่นฟ้า 64’
ในท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอันเกิดจากความคิดเรื่องประชาธิปไตยแตกต่างกันเป็นสองชุดความคิด การจัดประกวดวรรณกรรมการเมืองรางวัล “พานแว่นฟ้า” ของรัฐสภาก็ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ปี พ.ศ. 2564 นี้เป็นการจัดประกวดครบรอบ 20 ปีแล้ว
“ดั่งใจปรารถนา” สองขั้วระหว่างความรักและเสรีภาพ
ดั่งใจปรารถนา นวนิยายของซูซานนา ตามาโร เล่าเรื่องในรูปแบบของบันทึกจากยายถึงหลานสาวผู้ไป “ค้นหาตัวเอง” ที่ประเทศอเมริกา การจากลาครั้งนี้มิได้ราบรื่นชื่นบาน หากแต่ซ่อนความปวดร้าวช้ำใจ ความไม่เข้าใจกัน และความโหยหาอันเนื่องมาจากความรักที่ยื้อยุดอยู่กับคำว่าเสรีภาพ
ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน
ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน เป็นผลงานแปลของ “กอบชลีและกันเกรา” แปลจากนวนิยายที่มีชื่อเสียงก้องโลกเรื่อง The Alchemist ของ เปาโล คูเอลญู (Paulo Coelho, 1947–ปัจจุบัน) นักเขียนชาวบราซิล นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ กว่า 80 ภาษา พิมพ์เผยแพร่แล้วกว่า 65 ล้านเล่ม นวนิยายเรื่องนี้ติดอันดับ The New York Times bestseller มาเป็นเวลา 7 ปี ติดต่อกัน
แมลงสาบอันงดงาม รวมเรื่องสั้นสะท้อนความอัปลักษณ์ของชีวิต
หนังสือที่มีชื่อย้อนแย้งเล่มนี้ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น 13 เรื่องที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ และชมเชย จากการประกวดในโครงการเรื่องสั้นยอดเยี่ยมแห่งปี “เรื่องสั้นของฉัน” จัดโดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งเป็นเวทีประกวดเรื่องสั้นแห่งใหม่ที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม โครงการประกวดนี้เปิดกว้างให้นักเขียนส่งเรื่องสั้นประเภทใดก็ได้ คนหนึ่งส่งกี่เรื่องก็ได้ จึงมีเรื่องสั้นส่งเข้าประกวดถึง 2,238 เรื่อง
บันไดไม้รัก: ความรักทำให้เกิดทุกข์ แต่การรับมือความทุกข์ก็ต้องใช้ใจที่มีความรัก
ตอนต่อของ พญาไร้ใบ ชื่อว่า บันไดไม้รัก ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2546 บัดนี้สำนักพิมพ์แสงดาวได้นำพญาไร้ใบ และบันไดไร้รัก มาจัดพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่ 2 ดังนั้นเมื่อได้อ่านภาคต่อแล้ว จึงขอเขียนถึงบันไดไม้รัก เพื่อให้การกล่าวถึงนวนิยายเล่มนี้ครบสมบูรณ์
มรกต: คิดคะนึงถึงความรักไม่มีที่สิ้นสุด
มรกต เป็นพระราชนิพนธ์แปลเล่มล่าสุดของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นนวนิยายขนาดสั้น ผลงานประพันธ์ของจางเจี๋ย (ค.ศ.1937– ปัจจุบัน) นักเขียนสตรีผู้มีชื่อเสียงในวงวรรณกรรมจีนร่วมสมัย จางเจี๋ยสร้างสรรค์งานประพันธ์จำนวนมากในเวลากว่าสามทศวรรษ และได้รับรางวัลระดับชาติหลายรางวัล มรกตได้รับรางวัลนวนิยายขนาดกลางดีเด่นแห่งชาติเมื่อ ค.ศ.1984
ฉากท้องเรื่องของมรกตเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนช่วงก่อนปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยเหมาเจ๋อตุง มาจนถึงสมัยสี่ทันสมัยตามนโยบายของเติ้งเสี่ยวผิง จางเจี๋ยใช้แก่นเรื่อง “คนและความรัก” ซึ่งนิยมนำเสนอในผลงานส่วนใหญ่ของเธอ (ตามที่ปรากฏในประวัติผู้แต่ง) โครงเรื่องเป็นเรื่องราวของสองหญิงหนึ่งชาย ผู้หญิง 2 คน รักผู้ชายคนเดียวกัน แต่นวนิยายเรื่องนี้ไม่ได้นำเสนอการชิงรักหักสวาทเช่นนวนิยายรักส่วนมากของไทย ...
คนบนต้นไม้ เรื่องสั้นของนักเขียนยุคก้าวหน้าที่ยังก้าวหน้าตลอดกาล
"คนบนต้นไม้" ของนิคม รายยวา มีเรื่องสั้น 13 เรื่อง แต่งระหว่าง พ.ศ.2512-2527 ไม่มีเรื่องสั้นเรื่องใดคุณภาพอ่อนจนเป็นข้อตำหนิของหนังสือ เนื้อหากล่าวถึงชีวิตลำเค็ญของชาวไร่ ชาวนา คนขายแรงงาน ที่สะท้อนให้เห็นการถูกเอาเปรียบ แม้ลักษณะเหล่านี้จะเป็นไปตามขนบของวรรณกรรมเพื่อชีวิต แต่ก็ไม่ล้าสมัยเลย ทั้งที่อ่านใหม่ในเวลาอีก 50 ปีต่อมา
พญาไร้ใบ: เรื่องราวของมนุษย์ผู้ติดบ่วงแห่งกิเลส ตัณหา ราคะ
“กฤษณา อโศกสิน” เป็นนักเขียนนวนิยายไทยที่เขียนถึงกิเลสมนุษย์ได้ลุ่มลึกปวดหัวใจจนยากจะหาใครมีฝีมือทัดเทียม "พญาไร้ใบ" แม้จะเขียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2541 แต่เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งก็ยังพบว่าเรื่องราวของตัวละครพิกุล พู่กลิ่น พิกัน ก็ยังเขย่าใจให้เดือดดาล สมเพช สิ้นหวัง สมน้ำหน้า เหนื่อยหน่าย และเห็นอกเห็นใจไปทุกขณะจิต
ยุคสมัยแห่งความสิ้นหวัง : ตราบที่ใจไม่แล้งไร้ ก็ไม่ถึงกับสิ้นหวัง
จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท นักเขียนซีไรต์เขียนนวนิยายเรื่องนี้ไว้เมื่อ พ.ศ.2559 และได้รับรางวัลดีเด่น Young Thai Artist Award (YTA) ชื่อนวนิยายเข้ากับยุคสมัยตอนนี้พอดิบพอดี เพราะโลกกำลังเผชิญหน้ากับโควิด-19 ระบาดหนัก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และความเสื่อมถอยทางจริยธรรมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
หลากเรื่องในชีวิตของชายที่รักหนังสือ: ‘ชีวิต’ ของร้านหนังสืออยู่ในมือของคนรักหนังสือ
แกเบรียล เซวิน เป็นนักเขียนสาวชาวอเมริกัน นวนิยายของเธอพิมพ์ขายครั้งละหลายล้านเล่มและแปลแล้วมากกว่า 30 ภาษา นวนิยายเรื่อง The Storied Life of A.J. Fikry ผลงานอันดับ 8 ของเธอได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย ผู้แปลให้ชื่อเรื่องว่า "หลากเรื่องในชีวิตของชายที่รักหนังสือ"