แท็ก: บุญเตือน ศรีวรพจน์
ซ้อนกลจระเข้
“ไอ้เข้ ไอ้โขงมะโรงไม้สัก” คนไทยเรารู้จักมักคุ้นกับจระเข้มาช้านาน แต่เนื่องจากพฤติการณ์และลักษณะนิสัยอันลึกลับซับซ้อนของมันไม่เป็นที่ประทับใจ จระเข้จึงถูกเปรียบเปรยแง่ลบในสำนวนไทย เช่น ตะเข้ขวางคลอง ลูกเสือลูกตะเข้ ล่อตะเข้ และ น้ำตาจระเข้
เพลงยาวสอนหญิง
กาพย์กลอนสอนหญิงมีหลายสำนวน สมัยกรุงศรีอยุธยามีคำกาพย์สอนหญิงแต่งเป็นสุรางคนาง 28 ไม่ทราบนามผู้แต่ง สมัยกรุงธนบุรีมีกฤษณาสอนน้องคำฉันท์สำนวนภิกษุอินท์ สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มีกฤษณาสอนน้อง พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ฯลฯ
ฤดูร้อน…รัตนโกสินทร์
ฤดูร้อนรัตนโกสินทร์ปีนี้ เปลี่ยนแปรไปจากเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ไม่มีก่อพระทราย ไม่มีกาละแม ขนมกวนจ่ายแจก ซ้ำท้องฟ้ายังมีแต่ฝุ่น ยุคสมัยเปลี่ยน อะไรๆ ก็แปร
เสือซ่อนเล็บ
เสือซ่อนเล็บ ที่กระผมนำมาตั้งเป็นประเด็นครานี้ไม่เกี่ยวกับมีดพร้าอาวุธแต่เป็นเทคนิคทางอักษรศาสตร์ที่โบราณท่านคิดขึ้นมาเป็นของเล่นสำหรับนักเรียนผู้ใคร่รู้
เข้าตามตรอก – ออกตามหน้าต่าง
วิถีประเพณีไทยแต่เก่าก่อน ผู้ใหญ่สอนมาว่าหนุ่มสาวรักใคร่ชอบพอกันหากจะครองคู่เป็นฝั่งเป็นฝาก็ต้อง “เข้าตามตรอก ออกตามประตู” จึงจะงดงามตามจารีตโบราณ
‘ทอง’ บางสะพาน
ทองคำเป็นแร่โลหธาตุที่ทุกชาติทุกภาษายอมรับในคุณค่าและคุณสมบัติมานานนับพันปี ทองคำบริสุทธิ์ที่เรียกว่า ทองเนื้อเก้า ทองนพคุณ นพคุณเก้าน้ำ หรือทองชมพูนุท
ตาอินกะตานา
การสอนด้วยนิทานสุภาษิต หรือยกนิทานเป็นอุทาหรณ์เป็นวิธีที่ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย แต่น่าจะเหมาะกับวัยเด็กซึ่งยังเป็น “ไม้อ่อนดัดง่าย” มากกว่าชายชราอย่างกระผมซึ่งเป็น “ไม้แก่ดัดยาก” เหมือนอย่างในโคลงโลกนิติที่ว่า “ดัดก็หักแหลกแล้ ห่อนรื้อโดยตาม”
พระพุทธเจ้าเขาปถวี
พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน ว่ากันตามหลักฐานพุทธประวัติแล้วพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นบริเวณตอนเหนือของประเทศอินเดีย และไม่เคยเสด็จมายังดินแดนที่เป็นประเทศไทย ทว่าปูชนียสถานสำคัญในประเทศไทยหลายแห่งมีตำนานว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปที่นั่น ทั้งมีพุทธทำนายว่า ตรงนั้นต่อไปภายหน้าจะเป็นบ้านเมืองที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง