แท็ก: ถนนวรรณกรรม
การเดินทางเพื่อซึมซับเรื่องราวของ ‘ชญาน์พิมพ์’ กับนิยายเรื่องใหม่ครามรัก
นักเขียนแต่ละคนมีวิธีเสาะหาวัตถุดิบหรือข้อมูลสำหรับการเขียนแตกต่างกัน บางคนใช้การสืบค้นเอกสาร ภาพยนตร์ หรือสารคดี ก็สามารถถ่ายทอดบรรยากาศออกมาเหมือนได้เห็นกับตา แต่นักเขียนบางคนแค่นั้นอาจไม่พอ ต้องลงไปสัมผัสด้วยตัวเองอย่างถึงลูกถึงคน เพื่อความลื่นไหลในการพรรณนาอย่างสมจริง ‘ชญาน์พิมพ์’ คือนักเขียนในกลุ่มหลัง กว่าจะเป็นนิยายแต่ละเรื่อง เธอลงแรงเสาะหาข้อมูล ไปยังสถานที่จริง ไปลงเรียนจริง ไปสัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้องจริง
มนตร์มหัศจรรย์ของ ‘ณัฐณรา’ ผู้เขียน มาตาลดา
“มาตาลดา มาจากลูกสาวค่ะ ‘มาตา’ แปลว่าแม่ ‘ลดา’ แปลว่าเครือเถาหรือสาย แต่ในความหมายของเรา คือลูกสาวที่รัก เราเป็นคนรักลูก รักสามี ครอบครัวไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด นิยายเรื่องนี้เป็นเหมือนไดอารี่ที่อยากให้ลูกสาวได้อ่านแม้ว่าเราจะไม่อยู่แล้วก็ตาม” “ณัฐณรา” หรือ ชลธิดา ยาโนยะ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่กลายมาเป็นละครยอดฮิต อย่าง มาตาลดา ทำเอาคนดูอมยิ้มมีความสุขกันทั้งบ้าน วันนี้ “ณัฐณรา” จะมาเล่าถึงก้าวย่างถนนวรรณกรรมกันค่ะ
เพราะรักจึงลงมือทำ “สำนักพิมพ์ Library House” 7 ปีบนถนนวรรณกรรมแปล
รังสิมา ตันสกุล บรรณาธิการบริหารของสำนักพิมพ์ Library House เล่าถึงเสน่ห์ของวรรณกรรมแปลที่ดึงดูดใจให้เธอทิ้งความก้าวหน้าในบริษัทใหญ่ มุ่งสู่ธุรกิจหนังสือเพื่อสานความฝันให้เป็นจริงจนเกิด Library House
“วันนี้เจอนั่น” ไม่ว่าวันนี้เจออะไร ตัวอักษรจะปลอบใจเราเอง
“วันนี้เจอนั่น” คือชื่อเพจเฟซบุ๊กที่สื่อสารด้วยโควทคำสั้นๆ หรือบทความยาวพอประมาณ เพื่อบอกกับแฟนเพจว่า เราไม่จำเป็นต้องเป็นฮีโร่ เราไม่จำเป็นต้องทำได้ดีไปเสียทุกอย่าง เราเป็นแค่มนุษย์ธรรมดาที่สุขบ้างเศร้าบ้าง เก่งบ้างห่วยบ้างก็ได้
กลั่นจากชีวิตและความสนใจ สารคดีแนะนำจากนักเขียนหญิงที่น่าจับตา (ตอนที่ 2)
ในตอนที่ 2 นี้เราจะพาไปพบกับ “หนังสือแนะนำ” ประเภทสารคดีทั่วไป เวทีเซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2565 อีก 2 เล่ม
กลั่นจากชีวิตและความสนใจ สารคดีแนะนำจากนักเขียนหญิงที่น่าจับตามอง (ตอนที่ 1)
ถนนวรรณกรรมครั้งนี้พิเศษกว่าเดิม เพราะเราจะสนทนากับเหล่านักเขียนหญิง เจ้าของผลงานสารคดีทั้ง 4 เล่ม ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็น “หนังสือแนะนำ” ประเภทสารคดีทั่วไป เวทีเซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2565 หนังสือทั้ง 4 เล่มเปรียบเสมือนผู้หญิงสี่สไตล์ที่มีความสนใจแตกต่างกัน ค้นคว้าจนรู้ลึกรู้จริง เป็นผู้หญิงเก่งภูมิรู้แน่น แถมยังมีเสน่ห์ชวนติดตาม จนอ่านแล้ววางไม่ลง
เปิดประตู ‘หลังบ้านคณะราษฎร’ สารคดีชนะเลิศเซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2565
หนังสือเล่มนี้พูดถึงบทบาทของผู้หญิงตามชื่อหนังสือเลย จะเห็นว่าการปฏิวัติสยาม 2475 นั้นผู้หญิงมีส่วนร่วมเยอะ เป็นบุคคลสำคัญที่หนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และอุดมการณ์ที่ใช้ในการรักษาการปฏิวัตินั้นก็ผ่านผู้หญิง
ด.ช.ตุ้ม : เรื่องราววัยเด็กสู่วรรณกรรมเยาวชนดีเด่น เซเว่นบุ๊คส์อวอร์ด 2565
เรื่องราวของตุ้มอิงจากประสบการณ์จริงของผู้เขียน สุรศักดิ์ กฤษณมิษ สถาปนิกผู้ไม่คาดคิดว่าจะเขียนหนังสือ ถ่ายทอดความทรงจำอันมีค่าของตน พร้อมกับสอดแทรกสาระความรู้ที่อยากมอบให้เยาวชน ด.ช.ตุ้ม ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทวรรณกรรมเยาวชน การประกวดหนังสือดีเด่นเซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2565
รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู : นวนิยายชนะเลิศ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2565
รถไฟเที่ยวสุดท้ายจากพญาตองซู สะท้อนเรื่องราวความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดของผู้คนในสงครามเอเชียบูรพา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารญี่ปุ่นผู้แพ้สงคราม เน้นเนื้อหาการสร้างทางรถไฟจากไทยไปพม่า สุมาตร ภูลายยาว ท้าทายตัวเองด้วยการเปลี่ยนแนวจากสารคดีที่ถนัดสู่การเขียนนวนิยายเป็นครั้งแรก
‘จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้’ กวีนิพนธ์ ชนะเลิศ เซเว่นบุ๊คอวอร์ด 2565
หนังสือที่ได้รับรางวัลในปี 2565 นี้ เราประเดิมด้วยสาขากวีนิพนธ์ กับรวมบทกวี จนกว่าโลกจะโอบกอดเรา ฝีมือการประพันธ์ของ ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์