แท็ก: คมคำสำนวนไทย
ถูก ‘ถีบหัวส่ง’ มาสิท่า
การสัญจรทางน้ำก่อให้เกิดการใช้สำนวนไทยหลายสำนวนที่น่าสนใจ มีทั้งที่ใช้กันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ เช่นสำนวน “ถีบหัวส่ง” “บิดตะกูด” เป็นต้น
‘ไว้เนื้อไว้ตัว’ หน่อยเถอะแม่คุณ
“ไว้เนื้อไว้ตัว” เป็นสำนวนที่ถูกนำมาใช้ในด้านบวก หมายถึงการรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงที่ไม่ยอมให้ตนมีมลทินเพราะถูกล่วงเกินจากผู้ชาย
ดีแต่ ‘น้ำลาย’ แหละ
จะเห็นว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้สรรพนามแทนพระองค์ว่า “กู” ในความหมายว่า “ฉัน” ไม่ใช่คำไม่สุภาพตามที่คนในสมัยปัจจุบันเข้าใจ บางกรณีก็ใช้แสดงถึงความสนิทสนมกันระหว่างเพื่อนฝูง
ยังแค้นฝังหุ่นอยู่
คำว่า “แค้น”ในที่นี้ย่อมาจาก “แค้นคอ” คืออาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอกลืนไม่สะดวก ส่วน “กา” เป็นนกซึ่งมีลำคอเล็ก จะกินเนื้อสัตว์หรือพืชชิ้นใหญ่ๆ ได้ยากและอาจจะติดคอ ถ้าจะให้กลืนได้สะดวก อาหารของมันก็ต้องเป็นชิ้นเล็กๆ
เกลียดเข้ากระดูกดำจริงๆ
กระดูกเป็นโครงร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงร่างกาย มีลักษณะแข็ง มีเนื้อหนังหุ้มอยู่ ส่วนคำว่า “เกลียด” มีความหมายในทางลบว่าไม่ชอบ เมื่อนำมาใช้รวมกันกับ “เข้ากระดูกดำ” เป็นสำนวน “เกลียดเข้ากระดูกดำ” จึงใช้ในความเปรียบที่สื่อน้ำเสียงลึกล้ำรุนแรง เพราะพลังความเกลียดทะลุเข้าถึงกระดูก
งูเห่าชัดๆ
สังคมไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะในแวดวงการเมืองและหน่วยงานราชการ ได้มีการนำคำธรรมดาๆ ที่เคยใช้ความหมายตรงตามตัวอักษร เช่น งูเห่า กล้วย นั่งร้าน มาใช้เป็นสำนวนไทยที่สื่อความหมายเปรียบโดยนัย ซึ่งผู้เขียนคิดว่าน่าจะได้บันทึกไว้ในช่วงเวลานี้เพื่อให้เห็นการใช้ภาษาที่มีพัฒนาการจากอดีต
เหมือนสีซอให้ควายฟัง
เรื่องมุมมองต่อชีวิตนั้นมีหลากหลายทั้งด้านบวกและด้านลบ แล้วแต่สติปัญญา ค่านิยม รสนิยม รวมทั้งประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งย่อมสอดคล้องหรือแตกต่างกันไป มีการใช้บางสำนวนซึ่งชวนคิดทั้งในด้านความเปรียบ และแนวคิดในทางตรงกันข้าม โดยทุกสำนวนใช้สื่อความหมายในด้านลบคล้ายๆ กัน เช่น สำนวน “สีซอให้ควายฟัง” “ไก่ได้พลอย” “ลิงได้แก้ว” เป็นต้น
จะเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงได้ไง
สังคมไทยในปัจจุบันต้องเผชิญกับวิกฤติหลายด้านทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โรคร้าย ฯลฯ ในเรื่องกฏหมายของบ้านเมือง เมื่อประชาชนทั่วไปรู้สึกได้ถึงความอยุติธรรม และด้านการด้อยประสิทธิภาพของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของรัฐในการดูแลทุกข์สุขของประชาชน จึงได้มีสำนวนไทยบางสำนวนถูกนำมาใช้กันเกร่อ เช่น “เอาไม้ซีกมางัดไม้ซุง” “ลอยนวล” “บ้านเมืองมีขื่อมีแป” เป็นต้น
ที่นี่แหละกะลาแลนด์แดนมหัศจรรย์
ระยะไม่กี่ปีมานี้ ผู้เขียนได้ยินคนพูดสำนวน “กะลาแลนด์” ซึ่งเป็นสำนวนของกลุ่มผู้มีแนวคิดทางการเมืองการปกครองที่ตรงกันข้ามกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม สำนวนนี้มีที่มาจากสำนวน “กบในกะลาครอบ” ในอดีตคำ “กะลา” ยังถูกนำไปใช้รวมกับคำอื่นเป็นสำนวนต่างๆ อีก เช่น “คุ้มกะลาหัว” “เจียมกะลาหัว” เป็นต้น
เป็นเสือนอนกินสบายแฮ
ฉบับที่แล้วได้เขียนถึงสำนวนที่เกี่ยวกับการนอน ทำให้คิดถึงสำนวน “เสือนอนกิน” และเมื่อพูดถึงเสือแล้วก็คิดต่อเนื่องไปถึงสำนวนที่เกี่ยวกับเสืออีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งมักจะได้ยินคนพูดหรือเขียนถึงยามเกิดภาวะวิกฤติของผู้นำประเทศหรือผู้นำองค์กรสำคัญๆ ได้แก่สำนวน “ลงจากหลังเสือ”