ฤดูร้อน…รัตนโกสินทร์

-

ฤดูร้อนบ้านเราช่วงที่แสงแดดแผดเผาอบอ้าวร้อนแรงที่สุด ตกอยู่ในราวเดือนเมษายนหรือเดือน 5 ทางจันทรคติ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับเทศกาลสงกรานต์หรือวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ของชาวไทยและพี่น้องชาติพันธุ์อื่นๆ ที่ร่วมภูมิภาค เช่น พม่า ลาว เขมร

ก็แลในกลางฤดูร้อนเมื่อ 241 ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนครฐาน ลงเสาหลักเมืองกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 แล้วเริ่มการสถาปนาพระนครและพระบรมมหาราชวังจนแล้วเสร็จดังพระราชประสงค์ในพุทธศักราช 2328 กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรมาจนถึงบัดนี้

แม้ว่าช่วงเดือน 5 อากาศจะร้อนจัดแต่ก็เป็นเวลาหลังฤดูเก็บเกี่ยว รอฝนมาฟ้าใหม่ในเดือน 6 จึงจะเริ่มฤดูไถหว่าน ระหว่างเทศกาลตรุษสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่ชาวกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งกระโน้นได้มีโอกาสไปวัดทำบุญตักบาตรไหว้พระร่วมกัน ในรัชกาลที่ 3 เมื่อท่านสุนทรภู่ตกอับต้องออกบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาพระราชทานแก่พระราชธิดาองค์โปรดคือกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ดังนั้น เจ้านายฝ่ายในครั้งนั้นก็ย่อมศรัทธาไปทำบุญที่วัดเทพธิดารามด้วย อาหารและข้าวของสำหรับถวายพระจึงประดิดประดอยอย่างประณีตสมฝีมือ “ชาววัง” ดังที่ท่านสุนทรภู่พรรณนาไว้ในรำพันพิลาปว่า

ฤดูร้อนก่อนเก่าราวรัชกาลที่ ๓ เช่นกัน เมื่อหมื่นพรหมสมพัตรสรหรือเสมียนมี นักกลอนฝีปากคมยุคต้นกรุง บวชเป็นพระอยู่ที่วัดพระเชตุพน กล่าวถึงเทศกาลฤดูร้อนรัตนโกสินทร์ไว้ในนิราศเดือนที่ท่านแต่ง บรรยายถึงความเป็นอยู่และผู้คนครั้งนั้นไว้ว่ารำพันพิลาปและนิราศเดือนกล่าวถึงเทศกาลบุญฤดูร้อนของชาวเมืองหลวงแบบผู้ลากมากดีรัตนโกสินทร์ ส่วนวิถีของสังคมชนบทหรือหัวเมือง มีกล่าวถึงในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนต้นเรื่อง คือ

นั่นเป็นข้าวของอาหารถวายพระแบบชาวบ้าน สมัยที่ผู้เขียนยังเยาว์วัย เคยได้เห็นงานบุญตรุษสงกรานต์ เห็นขนมหวานที่ทุกบ้านต้องทำประจำทุกปี บางบ้านกาละแม บางบ้านข้าวเหนียวแดง บางบ้านขนมกวน แม้จะทำทุกเรือน แต่พอวันทำบุญก็ห่อใบตองแลกเปลี่ยนเป็นการประชันฝีมือ เหมือนเทศกาลสารทเดือน 10 ที่เกือบทุกครัวเรือนต้องกวนกระยาสารทไว้ทำบุญและจ่ายแจกแลกเปลี่ยน

ฤดูร้อนรัตนโกสินทร์ปีนี้ เปลี่ยนแปรไปจากเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ไม่มีก่อพระทราย ไม่มีกาละแม ขนมกวนจ่ายแจก ซ้ำท้องฟ้ายังมีแต่ฝุ่น ยุคสมัยเปลี่ยน อะไรๆ ก็แปร


คอลัมน์: ตะลุยแดนวรรณคดี / เรื่อง: บุญเตือน ศรีวรพจน์  ภาพ: ขวัญญาณี ศิรธนอนันต์

All Creative Team

Writer

ร่วมสร้างสังคมอุดมปัญญา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

RELATED POSTRELATED
Recommended to you

error: Don\'t copy !!!