มายาคติเรื่องอาหารพืชเป็นหลัก (Plant-based Whole Food)

-

ขณะที่แนวทางการกินอาหารพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ (plant-based whole food, PBWF) กำลังเป็นที่นิยมและได้รับการเผยแพร่ต่อๆ กันออกไป ก็ได้เกิดมายาคติ หรือ myth หรือความเชื่อผิดๆ ขึ้นมาหลายอย่างด้วย วันนี้ผมขอเคลียร์ความเชื่อผิดๆ เหล่านั้นทีละประเด็น ดังนี้

 

 มายาคติ 1 อาหารพืชเป็นหลักก็คือมังสวิรัติหรือเจนั่นแหละ

ความจริงก็คืออาหารพืชเป็นหลัก เป็นอาหารที่กินเพื่อให้สุขภาพดี ไม่เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาหรือคุณธรรม จริยธรรม และมีหลักสำคัญว่าให้กินอาหารพืช เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว นัท ในปริมาณมากที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามกินอาหารอย่างอื่น เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ โดยเด็ดขาด เพียงแต่ว่าให้เพิ่มส่วนที่เป็นพืชมากขึ้น ยิ่งมากยิ่งดี บางคนอยากกินเนื้อสัตว์พอหอมปากหอมคอ บางคนอยากกินเครื่องปรุงรสที่ทำจากสัตว์ เช่น น้ำปลา ซึ่งก็ทำได้ทั้งนั้น

 

มายาคติ 2 ถ้ากินพืชเป็นหลักจะขาดโปรตีนนะ

ความจริงก็คือโปรตีนหรือกรดอะมิโนจำเป็นทุกตัวเกิดขึ้นมาจากพืช คนกินพืชที่หลากหลายจึงไม่ขาดโปรตีน ดูง่ายๆ วัวควายก็ไม่ได้กินเนื้อสัตว์แล้วมันเอาโปรตีนมาจากไหนล่ะ อาหารพืชที่มีกรดอะมิโนครบถ้วน เช่น ถั่วเหลือง ควินัว บัควีด อาหารพืชที่อุดมด้วยโปรตีนหลากหลาย เช่น ถั่วต่างๆ งาๆ นัท เมล็ดพืช

 

มายาคติ 3 อาหารพืชเป็นหลักมีราคาแพง

พืชที่ให้โปรตีนสดๆ เช่น ถั่วต่างๆ เมล็ดพืช นัท คิดน้ำหนักโปรตีนกรัมต่อกรัมแล้วราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์อีกนะ ผักสะอาดก็ไม่แพง ถ้าไม่ไปยึดติดอยู่กับคำว่าผักออร์แกนิก ถ้าซื้อของตามฤดูกาลก็ยิ่งถูก

 

 

มายาคติ 4 อาหารพืชเป็นหลักทุกชนิดล้วนดีต่อสุขภาพ

 

มายาคติ 5 การปฏิญาณตนว่าจะกินอาหารพืชเป็นหลักหมายความว่าจะไม่ได้กินเนื้อสัตว์อีกแล้ว

ความคิดอย่างนี้มาจากอิทธิพลของการกินอาหารมังสวิรัติและเจที่อิงอยู่กับ “ศีล” หรือข้อห้ามทางศาสนา แต่ในความเป็นจริงการกินอาหารพืชเป็นหลักคือการเป็น “เจเขี่ย” หมายความว่าค่อยๆ เพิ่มปริมาณพืชมากขึ้นๆ ยืดหยุ่นได้ตามโอกาสและความจำเป็น

 

มายาคติ 6 กินพืชเป็นหลักเหมือนถูกจำกัดจำเขี่ย หาอะไรกินยาก

ตรงนี้ก็เป็นผลมาจากคอนเซ็ปต์เรื่อง “ศีล” ในทางศาสนาอีกนั่นแหละ ความอึดอัดขัดข้องนี้จะหมดไปเมื่อเราทำตัวเป็นเจเขี่ยก่อน อยากกินอะไรก็กิน มีอะไรให้กินก็กิน แต่เมื่อเลือกได้ก็เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพคืออาหารพืชเป็นหลัก

 

มายาคติ 7 อาหารพืชเป็นหลักไม่เหมาะกับเด็ก

นี่เป็นความเข้าใจผิดที่ใหญ่มาก งานวิจัยล้วนให้ผลสอดคล้องกันว่าอาหารพืชเป็นหลักเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพหลังจากหย่านมแม่ การเติบโตในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนของเด็กที่กินอาหารพืชเป็นหลักกับเด็กที่กินเนื้อสัตว์เป็นหลักนั้นไม่ต่างกัน แต่เด็กที่กินอาหารพืชเป็นหลักเป็นโรคอ้วนน้อยกว่า


คอลัมน์: สุขภาพ เรื่อง: นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

All Creative Team

Writer

ร่วมสร้างสังคมอุดมปัญญา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

RELATED POSTRELATED
Recommended to you

error: Don\'t copy !!!