เสวนา “นวัตกรรม” เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

-

เร็วๆ นี้ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดงานเสวนาหัวข้อ “นวัตกรรม” เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อจัดทำคู่มือเกี่ยวกับนวัตกรรม แนวทางพัฒนาสื่อต่อไป มีปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในงานเสวนาครั้งนี้ พร้อมด้วย วสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อ จัดขึ้น ณ โรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์

ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์
วสันต์ ภัยหลีกลี้

ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวเปิดงานว่า ระบบนิเวศสื่อในปัจจุบันมีเนื้อหาหลากหลายซึ่งมาจากกลุ่มผู้ใช้มีการใช้สื่อทุกประเภท อีกทั้งยังมีการการพัฒนาเนื้อหาเพื่อตอบสนองความต้องการผู้รับตามพฤติกรรมการบริโภคเฉพาะบุคคล ภายใต้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การสร้างองค์ความรู้ที่ร่วมสมัยภายใต้สภาพสังคมยุคดิจิตอลที่ซับซ้อน จึงมีความสำคัญที่ต้องกำหนดทิศทางการสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อในปัจจุบัน

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงสร้างพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนิยาม ค้นหา และพัฒนาองค์ความรู้ โดยร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ เพื่อจัดทำคู่มือเกี่ยวกับ “นวัตกรรม” เพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งการประชุมเพื่อกำหนดนิยามเพื่อการร่างคู่มือนั้น ได้เคยมีการจัดไปแล้ว และการครั้งนี้ถือเป็นประชุมเพื่อการขยายผลต่อยอด

ในงานมีการเชิญชวนตัวแทนองค์กรและบุคลากรด้านสื่อสารมวลชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ร่วมประชุมและแสดงคิดเห็นในครั้งนี้

หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ได้แก่ หนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ มาพูดในหัวข้อ Digital Transformation หนุ่ยแชร์ประสบการณ์เป็นผู้ผลิตสื่อที่มีทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว “ทุกคนกลัวการที่สื่อเปลี่ยนแพลตฟอร์มอย่างรวดเร็ว เมื่อก่อนเราต้องอาศัยบริษัทสถิติมาบอกยอดวิว แต่ทุกวันนี้เราเห็นได้ทันทีจากยอดวิวที่ขึ้นจริง ส่งผลให้หลายคนกลัวการ disrupt เพราะเกิดจากคนที่อายุน้อยกว่า ใช้คนน้อยกว่า และต้นทุนน้อยกว่า วันหนึ่งเราอาจตื่นมาแล้วพบกับความล้มละลายได้ และ “สื่อ” คือคนที่โดน disrupt เป็นรายแรก”

หนุ่ยเล่าต่อว่า ตัวเขาเจ๊งทันทีตั้งแต่เริ่มมีทีวีดิจิตอล เมื่อมีการประมูลช่องเกิดขึ้น เขาได้รับการทาบทามจากช่องดิจิตอลถึง 6 ช่อง และทำให้เขาเกิดหลงในมายาว่านี่จะเป็นสิ่งที่สร้างความสำเร็จอย่างสวยงามให้แก่เขา ณ วันนั้นที่มีการประมูลทีวีดิจิตอล ยังไม่มีเฟซบุ๊กไลฟ์ ไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตพฤติกรรมการดูแบบออนไลน์ การสตรีมมิ่งจะเกิดขึ้น และทีวี ซึ่งเคยเป็นสื่ออันทรงอิทธิพลที่สุด กลับกลายเป็นว่าวันหนึ่งคนไม่ดูทีวีแล้ว

“ผมขาดทุนแปดหลัก จากการทำรายการทีวีดิจิตอล ในวันที่ขาดสภาพคล่อง ผมตัดสินใจทุบสนามหญ้าที่บ้านทำสตูดิโอเอง เลิกเช่าสถานที่ ยุติทีวีหันมาทำมาทำช่องดิจิตอล เพราะเรามองเห็นโอกาส เพราะมีรายงานทางสติถิว่าประเทศเป็นอันดับ 3 ของโลกที่ดูเฟซบุ๊กไลฟ์มากที่สุด ผมยังเปลี่ยนวิธีการดำเนินรายการ เลิกไตเติ้ลแบบรายการทีวี ปรับการเล่าให้ไวขึ้น เพราะงานวิจัยเผยว่าคนไทยใช้เวลาในการดูคลิปเพียง 6 วินาที แล้วไถทิ้งเลยถ้าไม่สนใจ จนวันหนึ่งพอคนดูเรามากถึงล้านวิวโฆษณาก็เข้ามา

” ในเชิงสื่อผมได้กลับมาทำคอนเทนต์ที่อยากทำอีกครั้ง”

อย่างไรก็ดี แม้ว่าคลิปที่พาดหัวแรงๆ พูดคำหยาบ คือคลิปวิดีโอที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่หนุ่ยยืนยันว่าเขาโตมากับการทำทีวี แม้ว่าวันนี้จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มมาสู่โลกออนไลน์ก็ตาม ทว่าความรับผิดชอบในฐานะสื่อทำให้เขายึดมั่นที่จะไม่พูดคำหยาบ

หนุ่ยสรุปสุดท้ายว่าการเปลี่ยนแพลตฟอร์ม การมาของออนไลน์ การถูกdisrupt สิ่งต่างๆ ที่เราเกรงกลัวนั้น ถ้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเราจะเห็นโอกาสหลายอย่าง ออนไลน์คือโลกที่เรารู้ว่ามีคนใช้เยอะ และฟรี เราจะรออะไรอีก เปลี่ยนแพลตฟอร์มเลย สร้างพื้นที่ แล้วกลับมาสร้างคอนเทนต์ที่ถนัด

ปฐม อินทโรดม

วิทยากรคนที่สอง ปฐม อินทโรดม มาพูดถึง Internet of Things (IOT) กล่าวว่า ผมเติบโตมาจากธุรกิจสื่อ เริ่มต้นทำสื่อไอที จากนั้นผันมาทำอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิตอล เช่น thaimail.com แต่ทุกวันนี้ไม่ได้ทำแล้วเพราะถูก disrupt ไปหมด

โลกทุกวันนี้แทบจะเกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตไปทุกอย่าง เครื่องมือเครื่องใช้แทบไม่มีสิ่งไหนไม่ต่ออินเตอร์เน็ต แม้แต่ของใช้ที่เราไม่คิดว่าเกี่ยวข้อง ปัจจุบันก็ยังมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น นาฬิกา ทีวี เครื่องกรองน้ำ ตู้เย็น หรือแม้แต่ไม้แคะหู มีอุปกรณ์สองแสนล้านชิ้นที่ต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่นับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต แต่ละคนจะมีอุปกรณ์ต่ออินเตอร์เน็ตในครอบครองไม่ต่ำกว่า 5 ชิ้น

ปฐมเล่าถึงบทความต่างประเทศที่กล่าวถึง 5 สาขาวิชาที่อาจหายไปในอนาคต เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แต่ในวิกฤติก็ยังมีโอกาส ถึงจะดูเหมือนสิ้นแสงสว่าง แต่หาเพ่งมองให้ดีย่อมเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์แน่นอน

  1. ภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นประเทศไทยคือสาขาวิชาภาษาไทย งานที่เหมาะกับสาขาวิชานี้ เช่น นักเขียน นักแปล ไกด์ ซึ่งสาขาวิชาอื่นก็สามารถทำงานตรงนี้ได้ ปัจจุบันยังมีเทคโนโลยีที่พัฒนาเพื่อการเขียน-การแปลเกิดขึ้นมากมาย แต่ทว่าอีกด้านหนึ่ง สาขาวิชานี้กำลังเป็นที่ต้องการจากบริษัท AI หรือ Big data เพราะคำศัพท์แสลง คำศัพท์ฮิตตามสมัย AI ไม่สามารถอ่านศัพท์พวกนี้ได้ ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาจึงยังมีโอกาสอยู
  2. วิทยาศาสตร์ ความนิยมของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์นั้นถดถอยลงเรื่อยๆ แต่บางสาขา เช่น คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะ Data science ยังมีโอกาส และในอนาคตสาขาฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ก็อาจได้รับความนิยมจากการพัฒนาทางด้านดาวเทียม
  1. ครุศาสตร์ เนื่องจากประชากรเกิดน้อยลง ความต้องการครูจึงมีแนวโน้มลดน้อยลง ทว่า แม้จะย้ายเป็นการเรียนการสอนออนไลน์ก็ตาม ก็จำเป็นต้องใช้ผู้จบครูโดยตรงในการออกแบบหลักสูตรอยู่
  2. สังคมศาสตร์ เป็นสาขาที่กว้างเกินกว่าจะใช้งานได้จริง แต่ด้วยแนวโน้มกระแสโซเชียลเอ็นเตอร์ไพรส์ที่กำลังมาแรง จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและวัฒนธรรมในสังคม
  3. นิเทศศาสตร์ สาขาซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทุกวันนี้ใครก็เป็นสื่อได้ ทุกคนสร้างรายการขึ้นมาได้โดยไม่ต้องจบสื่อสารมวลชน แต่กระนั้นก็ทำให้เกิดเฟคนิวส์ขึ้นมามากมาย เป็นโอกาสของนักสื่อสารมวลชนตัวจริงที่จะสร้างสื่อสร้างสรรค์ ทำให้เห็นว่าสื่อจริงกับเฟคนิวส์แตกต่างกันอย่างไร

ปฐมสรุปทิ้งท้ายว่า หากเรามองการเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นวิกฤติเราก็เหี่ยวเฉา แต่หากมองเป็นโอกาส จะเห็นว่ายังมีโอกาสให้เราเติบโตอีกมากมาย

สุวิตา จรัญวงศ์

วิทยากรคนที่สาม คือ สุวิตา จรัญวงศ์ มากล่าวถึงเรื่อง Media Innovation กล่าวว่า วิกฤติที่เจอปัจจุบันคือการที่วงการสื่อถูก disrupt จากการพัฒนาของโลกดิจิตอล นักข่าวดีๆ หดหายไปจากวงการ เฟคนิวส์เข้ามาครองเมือง เธอบอกว่าจริงๆ คนไทย ปรับตัวเร็ว รับการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าคนฝั่งยุโรป ดังนั้นถ้าเรามองเห็นโอกาสจากอินเตอร์เน็ต แล้วนำมาใช้พัฒนาสื่อ เช่น จากการรีวิวธรรมดา สู่การสร้างสื่อสร้างสรรค์ ใช้นวัตกรรมในทางที่ดี สื่อก็จะถูกบิดกลายเป็นสื่อที่ดี และยืนหยัดต่อไปได้

ภิญญ์สินี

Writer

กองบรรณาธิการ ศิษย์เก่าเอกปรัชญาและศาสนา ชอบติดตามกระแสสังคม และเทรนด์แฟชั่น สนใจศิลปวัฒนธรรม และสีมงคล ลายนิ้วหัวแม่มือคือลายมัดหวาย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

RELATED POSTRELATED
Recommended to you

error: Don\'t copy !!!