โธ่! ใครจะอยากถูก ‘จองกฐิน’

-

ระยะนี้มีสำนวนไทยที่ถูกนำมาใช้ให้ได้อ่านได้ฟังกันบ่อย ได้แก่ จองกฐิน และ “ติดกระดุมเม็ดแรกผิด 

 

จองกฐิน 

คำ “จอง” แปลว่ามั่นหมายไว้, ขอกำหนดไว้ ส่วน “กฐิน” ตามรูปศัพท์หมายถึงไมสะดึงคือไม้แบบที่ตัดจีวร ในที่นี้หมายถึงผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ผู้มีจิตศรัทธาถวายแด่พระภิกษุ 

มูลเหตุการถวาผ้ากฐินมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก มหาวรรค หัวข้อ “กฐินขันธก ตอนหนึ่งความว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวันในเมืองสาวัตถี มีพระภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูปถือธุดงค์1 เดินทางเพื่อจะไปฝ้าพระพุทธองค์ แต่ไปไม่ทันวันเข้าพรรษา ทำให้ต้องอยู่จำพรรษาที่เมืองสาเกตซึ่งอยู่ระหว่างทาง ครั้นออกพรรษาแล้วจึงเดินทางต่อ แต่ในช่วงเวลานั้นฝนยังคงตกชุก ทำให้พื้นดินเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเป็นเลน จีวรก็เปียกชื้น ถึงกระนั้นบรรดาพระภิกษุก็อุสาหะอดทนเดินทางไปจนถึงวัดพระเชตวันและได้เฝ้าพรพุทธองค์สมความปรรถนา พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นสภาพพระภิกษุก็ตรัสถามถึงการเดินทางและความเป็นอยู่ พระภิกษุกราบทูลว่าแม้ต้องเผชิญกับความยากลำบากเพียงไรก็พอทนได้และมีความสุขตามอัตภาพ นับแต่นั้นมาพระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ผู้มีจิตศรัทธาถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุได้ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นเดือนท้ายฤดูฝน ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เรียกว่าฤดูกฐินหรือเทศกาลกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐินเรียกว่าทอดกฐิน การทอดกฐินถือว่าเป็นสังฆทานพิเศษ ผู้ทำจะได้บุญกุศลแรงเพราะปีหนึ่งทำได้เพียงครั้งเดียว เมื่อถึงเทศกาลกฐินผู้มีจิตศรัทธาต้องไปแจ้งความจำนงแก่วัดที่จะทอดกฐินเป็นการล่วงหน้า (เพราะวัดมีจำนวนน้อย) เพื่อทางวัดจะได้เตรียมความพร้อมรับผ้ากฐิน การขอกำหนดเวลาดังกล่าวนี้เรียกว่า “จองกฐิน” 

ต่อมาได้มีการนำ “จองกฐิน” มาใช้เป็นสำนวนเปรียบให้มีความหมายในด้านลบว่า หมายมั่นหรือกำหนดไว้ล่วงหน้าที่จะเล่นงานหรือแสดงความไม่ไว้วางใจผู้หนึ่งผู้ใดหรือคนกลุ่มใกลุ่มหนึ่ง เพราะไม่พอใจ ไม่ถูกใจ เช่นหลังจากมีประกาศรายชื่อรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่แล้ว ฝ่ายค้านก็กำหนดตัวรัฐมนตรอื้อฉาวบางคนที่จะถูกอภิปรายไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎนัดแรก พวกคอการเมืองก็ตั้งวงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างออกรส ตอนหนึ่งวิญญูพูดขึ้นว่า “เออ! ยังไม่ทันได้เข้ากระทรวงทำงาน รัฐมนตรีบางคนก็ถูกจองกฐินซะแล้ว งานนี้สนุกแน่ 

 

ติดกระดุมเม็ดแรกผิด 

เมื่อใดที่สวมเสื้อผ่าหน้า ผู้สวมกจะติดกระดุมให้เรียบร้อย แต่ถ้าเร่งรีบหรือขาดสติก็อาจติดกระดุมผิด การติดผิดตั้งแต่เม็ดแรก เม็ดต่อๆ ไปก็จะติดผิดเรื่อยไป อาจติดผิดไปจนถึงเม็ดสุดท้าย ทำให้ชายเสื้อเหลื่อมกันไม่น่าดู ผู้พบเห็นก็จะคิดตำหนิในใจ แต่บางคนรู้ตัวว่าติดผิดก็ปลดออกติดใหม่ 

มีผู้นำ “ติดกระดุมเม็ดแรกผิด” มาใช้เป็นสำนวนเปรียบ หมายถึงคิดหรือทำเรื่องใดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องเหมาะควรตั้งแต่แรกเริ่มก็จะทำให้กิจการงานหรือวิถีชีวิตผดพลาด แต่ถ้ารู้คิดทันการณ์ก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น นรีพูดกับลูกชายว่า ลูกคิดยังไงถึงไปสมัครเข้าทำงานที่บริษัทนี้ แม้จะเป็นบริษัทใหญ่ให้เงินเดือนสูง แต่ก็มีเสียงวิจารณ์หนาหูว่ามีเบื้องหลังที่ไม่สู้ดี อย่าให้เข้าทำนองติดกระดุมเม็ดแรกผิดนะ ลองคิดดูให้รอบคอบ จะได้ไม่พลาด 


คอลัมน์คมคำสำนวนไทย /เรื่อง: ยุพร แสงทักษิณ ภาพขวัญญาณี ศิรธนอนันต์ 

All Creative Team

Writer

ร่วมสร้างสังคมอุดมปัญญา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

RELATED POSTRELATED
Recommended to you

error: Don\'t copy !!!